นโยบายการบริหารงานของคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล
นโยบายปฏิรูปการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด Research clusters เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ
- สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการวิจัย และการตีพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ
- มี War Room Research เป็นหน่วยงานเชิงรุก ช่วยการแปลและการตีพิมพ์ และหาทุนโดยเฉพาะ อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ
นโยบายเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองอาเซียน
- ส่งเสริมการเรียนการสอน การฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และเชื่อมโยง cluster งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาเซียน และอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ในสถาบันอุดมศึกษา
- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโลกทัศน์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถในเวทีสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ รวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการเป็นพลเมืองอาเซียน
นโยบาย University Social Responsibility
- ยกระดับการบริการวิชาการด้วยหลัก University Social Responsibility (USR)
- เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไหน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องตอบโจทย์สังคมได้ทันเหตุการณ์
- ให้คำอธิบายผ่านเว็บไซต์คณะทันท่วงที
- สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผ่านสื่อลงเว็บไซต์
- เชื่อมโยงสื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์คณะ มหาวิทยาลัย
- จัดให้มีโต๊ะข่าวสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์สังคม ทันเหตุการณ์ - ส่งเสริม การเชื่อมโยงงานบริการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่ต้องจ้างองค์กรภายนอก ลดพิเศษ 15-20% และสานต่อ Envir. Clinic
- ริเริ่มให้คณะเป็นแหล่งอ้างอิงด้านค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้หน่วยงาน ประชาชนสามารถเข้ามาสืบค้น
- University Carbon Management Plan
นโยบายการบริหารความเสี่ยง
- ทบทวนการบริหารความเสี่ยงระดับคณะ เพื่อทราบความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม สภาวะแวดล้อมของคณะ และความเป็นจริงในสังคมด้วย
นโยบายด้านการศึกษา
- เสริมสร้าง 21st Century Skills ด้วยการบรรจุเนื้อหาในลักษณะสหสัมพันธ์วิทยาการ ไปใน core subjects
- เน้นกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ใช้ Project Based Learning
- เพิ่มกระบวนวิชาด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคและโลก Climate Change, Disasters Management, International River, Environmental Problems in SE ASIA etc.
นโยบายด้าน HR และ Performance Monitoring
- มีแผนและกลไกการพัฒนาบุคลากรของคณะให้มีความเป็นสากล และธรรมาภิบาลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย
- สร้างกลไกให้ยอมรับการประเมินที่อิงผลงาน
- การประเมินผลการกำกับดูแล (Performance Monitoring) เมื่อได้ implement มาระยะหนึ่งแล้ว มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ต้องมีการปรับ (fine tuning) อะไรบ้าง ต้องปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้นหรือไม่ อย่างไร
โอกาสการพัฒนา 4 ปี ข้างหน้า
- คณะเป็นสถาบันผลิตผู้นำทางความคิดด้านสิ่งแวดล้อม ระดับภูมิภาคและนานาชาติ
- มี research clusters ที่เป็นรูปธรรมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยและองค์การภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ
- มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เพิ่มขึ้น ทั้งระดับชาติและนานาชาติ อย่างเป็นรูปธรรม
- มีหลักสูตรทันสมัยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ภูมิภาคและประเทศ
- ตอบโจทย์สังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผ่านสื่อในนามคณะ ทันท่วงที
- บัณฑิตเป็นที่ต้องการของสังคม มีความรู้ คู่คุณธรรม
- คณะเป็นมืออาชีพ ในงานวิจัย การฝึกอบรม ให้กับภาครัฐและเอกชน ในระดับนานาชาติและอาเซียน
- มีโครงข่ายความร่วมมือ ทั้งทางด้านการเรียนการสอน การวิจัยการบริการสังคมที่ชัดเจน
- รับและผลิตนักศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยมีรูปแบบการหารายได้โดยจับมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ให้ส่งผู้เรียนระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต
- บุคลากรทุกสายงานในคณะฯ มีความรักองค์กร ทำงานอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างพันธุกรรมใหม่ของคณะสิ่งแวดล้อมฯ
- ขยายผลศูนย์ในพันธุกรรม DNA ที่แข็งแรงขององค์กร
- ขยายจุดแข็ง จากยีน และโครโมโซมที่ดีที่สุดในปีแรก
- ปีแรกต้องทำทันที (ยกระดับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของคณะ International, manuscript, Text Books, Book on Demand)
- ปีต่อมา เสริมจุดรองปรับ ขยาย เชื่อมโยงหลักสูตร เตรียมรับการโอนย้ายหน่วยกิต ในสาขาสิ่งแวดล้อม ตอบสนองประชาคมอาเซียน เริ่มทันที ที่ UKM