โครงการสร้างกรอบข้อมูลเมืองยั่งยืน กรณีศึกษาเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในเขตปริมณฑลอย่างสหวิทยาการ

  • "โครงการสร้างกรอบข้อมูลเมืองยั่งยืน กรณีศึกษาเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในเขตปริมณฑลอย่างสหวิทยาการ  "
  • "ชุดโครงการชุดโครงการเมืองยั่งยืน "

โครงการพัฒนาระบบประเมินภาพรวมสถานะเมืองยั่งยืน กรณีศึกษาเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในเขตปริมณฑลอย่างสหวิทยาการ

(Sustainable Place Profiling: A Multidiscipline Case Study of Municipalities in Bangkok’s Vicinity)

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร. วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ร่วมวิจัย

  • อ.ดร.มรกต มุทุตา อาจารย์ประจำภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อ.ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทสรุปย่อผู้บริหาร

ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งยวดต่อพื้นที่ในทุกระดับเช่น ระดับย่าน (neighbourhood) เมือง (towns and cities) หรือแม้กระทั่งประดับประเทศ (nations) งานวิจัยในอดีตแสดงให้เห็นถึงการประเมินความยั่งยืนของเมืองผ่านการใช้ข้อมูลจริง และผ่านมุมมองผู้อยู่อาศัย เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนของเมือง โครงการวิจัยนี้จึงเล็งเห็นโอกาสในการรวบรวมมิติต่างๆ ของการประเมินความยั่งยืนของเมืองเพื่อสร้างกรอบข้อมูลเมืองยั่งยืน (Sustainable Place Profiling) ที่จะนำไปสู่การแสดงข้อมูลด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ที่หลากหลายอย่างบูรณาการได้แก่ มิติผู้อยู่อาศัย (resident’s dimension) มิติผู้บริหารเมือง (administrator’s dimension) และมิติข้อเท็จจริงทางกายภาพ (physical reality) ซึ่งกรอบข้อมูล (profile) นี้มีประโยชน์ให้เมืองสามารถประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของตนเองเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของความยั่งยืน เปรียบเทียบความแตกต่างกันใน 3 มิติ เปรียบเทียบกับเมืองอื่น และท้ายที่สุด สามารถพัฒนาแนวทางที่จะพัฒนาเมืองตนเองเพื่อความยั่งยืน ผ่านกรอบการแบรนด์เมืองยั่งยืน การวิเคราะห์ด้วยกรณีศึกษา และการวิเคราะห์โครงข่ายสัณฐานของเมือง

งานวิจัยในอดีตแสดงให้เห็นถึงการประเมินความยั่งยืนของเมืองผ่านการใช้ข้อมูลจริงและผ่านมุมมองผู้อยู่อาศัย เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืนของเมือง โครงการวิจัยนี้จึงเล็งเห็นโอกาสในการรวบรวมมิติต่างๆ ของการประเมินความยั่งยืนของเมืองเพื่อสร้างกรอบข้อมูลเมืองยั่งยืน (Sustainable Place Profiling) ที่จะนำไปสู่การแสดงข้อมูลด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ที่หลากหลายอย่างบูรณาการได้แก่ มิติผู้อยู่อาศัย (resident’s dimension) มิติผู้บริหารเมือง (administrator’s dimension) และมิติข้อเท็จจริงทางกายภาพ (physical reality) ซึ่งกรอบข้อมูล (profile) นี้มีประโยชน์ให้เมืองต่างๆ สามารถประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของตนเองเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของความยั่งยืน เปรียบเทียบความแตกต่างกันใน 3 มิติ เปรียบเทียบกับเมืองอื่นๆ และท้ายที่สุด สามารถพัฒนาแนวทางที่จะพัฒนาเมืองตนเองเพื่อความยั่งยืนได้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) (ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย, ประเด็นวิจัย, input, และ outputs ในระยะต่าง ๆ)
ต้นน้ำ : ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ
กลางน้ำ : ผู้บริหารเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลต่างๆ
ปลายน้ำ : ประชาชนในพื้นที่เทศบาล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อสร้างระบบประเมินภาพรวมสถานะเมืองยั่งยืน (Sustainable City profile) ผ่านการศึกษาเมืองต่างๆ ในระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลในเขตปริมณฑลผ่านมุมมองผู้อยู่อาศัย (Resident Perceptions) มุมมองข้อเท็จจริงทางกายภาพ (Physical Reality) และมุมมองผู้บริหารเมือง (Administrator's Perspective เพื่อให้เทศบาลและหน่วยงานในเมืองใหญ่สามารถนำระบบประเมินภาพรวมสถานะเมืองยั่งยืนนี้ไปประเมินระดับความยั่งยืนของเมืองอย่างบูรณาการ
  2. เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมและช่องว่างของข้อมูลในการพัฒนา city profile และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาเมืองให้ยั่งยืน
  3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการนำ city profile ไปใช้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

  1. Output
    - ระบบประเมินภาพรวมสถานะเมืองยั่งยืนที่สามารถนำำปประยุกต์ใช้กับเมืองในระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลได้อย่างแพร่หลาย เกิดประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจและวางแผนพัฒนา จำนวน 1 โมเดลพร้อมข้อมูล 10 เทศบาล
    - คู่มือ "ระบบประเมินเมืองยั่งยืน" สำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองยั่งยืน
    - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำแนวคิด city profile เพื่อพัฒนาแผนจัดการในเมืองอนาคต
  2. Outcome
    - แนวทางการแบรนด์เมืองต่างๆ ตามกรอบการแบรนด์สถานที่ยั่งยืน เพื่อให้เทศบาลสามารถนำไปพิจารณาใช้ รวมถึงการเป็นแนวทางให้เทศบาลอื่นทั่วประเทศสามารถเห็นรูปแบบแนวทางการแบรนด์เมืองที่เหมาะสม
    - ความเข้าใจในปัจจัยสนับสนุนและความท้าทายของการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาปรับปรุงได้อย่างบูรณาการ
    - แนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อความยั่งยืนผ่านการวิเคราะห์โมเดลสัณฐานของเมือง
  3. Impact
    - ผู้บริหารเทศบาลสามารถนำแนวทางจากงานวิจัยนี้ไปปฏิบัติใช้จริงเพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมือง