การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย

"การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย"

การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่าเมืองนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติ จำนวนประชากรโลกถึงร้อยละ 70 จะอาศัยอยู่ในเมืองภายในปี ค.ศ. 2050 นอกไปจากนี้ยังมีภาวะความกดดันจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเปลงภูมิอากาศ มลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวะภาพ เหล่านี้นำมาซึ่งความท้าทายของทรัพยากรที่จะมาหล่อเลี้ยงคนเมืองในอนาคต การพัฒนาเมืองให้ยั่งยืนจึงมีความสาคัญอย่างมากที่จะก่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างความต้องการทรัพยากรพื้นฐานกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม จนไปถึงการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนของสังคมเมือง ชุดโครงการเมืองยั่งยืนได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้กระบวนการวิจัยในการหาคำตอบเพื่อนาไปสู่การแก้ไขปัญหาของการเจริญเติบโตของเมืองที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะวิกฤติของการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็น การขยายตัวของความหนาแน่นประชากร ทางด้านเทคโนโลยี การขยายฐานของเศรษฐกิจทุนนิยม นำมาซึ่งอัตราการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นบนพื้นฐานของปริมาณทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งพลังงานที่มีจำนวนจำกัด รวมถึงขีดความสามารถของระบบนิเวศน์ภายในเมืองที่สอดรับกับอัตราการปล่อยของเสียที่เพิ่มสูงขึ้น ทางชุดโครงการเมืองยั่งยืนจึงมีความประสงค์ที่จะสนับสนุนงานวิจัยในอนาคตเพื่อ
1) เป็นงานวิจัยใหม่และงานวิจัยต่อยอด หรือบูรณาการเชื่อมโยงกับงานวิจัยฝ่ายอื่นที่สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้การสนับสนุนเพื่อนาไปสู่การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน อีกทั้ง
2) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายที่ร่วมกับภาคสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีความสาคัญและจาเป็นต่อรูปแบบการพัฒนาเมืองให้มีความยั่งยื่น และสุดท้าย
3) เพื่อทาหน้าที่ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า และจัดทาบทสรุปผลการดาเนินงานจองแต่ละโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้ชุดโครงการ
โดยที่เมืองยั่งยืนนี้มีกรอบแนวทางการดาเนินงานภายใต้บริบทการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพ 3 มิติพื้นฐาน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีความเชื่อมโยงสู่ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ภายใต้บริบทของสังคมไทย และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

โดยการดำเนินงานเมืองยั่งยืนของชุดโครงการจะประกอบไปด้วยความยั่งยืนของเมือง 3 มิติ กล่าวคือ

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการของประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เพื่อดุลยภาพระหว่างมิติเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การวางและจัดทาผังเมือง และโครงสร้างทางกายภาพที่ตอบสอนองต่อความต้องการของสังคมเมือง บนฐานความคิดของความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของทรัพยากร การสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการของเมือง
  2. สุขภาพ เพื่อดุลยภาพระหว่างมิติเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการสร้างจิตสานึกและกระบวนทัศน์ทั้งทางความคิดและพฤติกรรมของสังคมเมือง
  3. การลดความเหลื่อมล้า เพื่อดุลยภาพระหว่างมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยกลไกทางเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้าของคนภายในสังคมเมือง การสร้างความร่วมมือของกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกลไกเวทีสาธารณะ ที่ช่วยลดความขัดแย้งของการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่

เพื่อให้การดำเนินการสนับสนุนงานวิจัยในชุดโครงการเมืองยั่งยืนบรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับกรอบในการดำเนินงานทั้ง 3 ด้านของเมืองยั่งยืน และสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้จากชุดโครงการวิจัยดังกล่าวไปใช้เชื่อมโยงกับโครงการวิจัยในฝ่ายอื่นๆ ของ สกว. และเป็นส่วนหนุนเสริมเพื่อการกำหนดนโยบาย สร้างกลไกการทำงาน หรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเมืองสู่ความยั่งยืนในอนาคตนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประเมินองค์ความรู้ของงานวิจัย งานศึกษา และเอกสารราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองยั่งยืนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศไทย

เพื่อทำความเข้าใจทิศทาง กรอบแนวคิด และองค์ความรู้ที่มีอยู่ของประเทศไทยด้านเมืองยั่งยืน และจะนำไปสู่การตั้งโจทย์ใหม่ที่ความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเมืองยั่งยืนที่ทางชุดโครงการจะให้การสนับสนุนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. ทบทวนกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืน (sustainable urban development’s framework) ในบริบทสากล
    1.1) ทบทวนข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเมืองยั่งยืน (sustainable urban development agenda) ในระดับสากลที่ประเทศไทยเข้าร่วม
    1.2) ศึกษากรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในระดับสากล เพื่อวิเคราะห์ทิศทางที่สาคัญเพื่อการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมาะสมกับกรอบการดาเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน
  2. ทบทวนแนวคิดการพัฒนาเมืองยั่งยืนในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ทิศทางที่สาคัญเพื่อการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมาะสมกับกรอบการดาเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน
  3. ประเมินความรู้ด้านการพัฒนาเมืองยั่งยืนของประเทศไทยว่าสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืนในระดับสากลหรือไม่
    3.1) วิเคราะห์และประเมินช่องว่างองค์ความรู้ของประเทศไทยกับกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืนในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ดุลยภาพของการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic-Environment) โดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการพัฒนาเมือง และเพิ่มเติมประเด็นดุลยภาพระหว่าง สุขภาพ (Social-Environment) และ การลดความเหลื่อมล้า (Social-Economic)
  4. ประเมินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองยั่งยืนที่ทาง สกว เคยให้การสนับสนุนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อเสนอแนะทิศทางการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมะสมกับกรอบการดาเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน