• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2565

ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 17

20 ตุลาคม 2565 รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 17 ภายใต้หัวข้อ “Climate Change, We Must Change – เริ่มเพื่อโลก” พร้อมด้วย อ.ดร.ธัญภัทร ศาสตระบุรุษ ประธานค่ายฯ และ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และกล่าวต้อนรับเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ซึ่งประกอบไปด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 50 คน จาก 50 โรงเรียนทั่วประเทศ


ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 17 จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพื่อมุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต โดยมอบประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งภาคทฤษฎีผ่านกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ “ปรับตัวอย่างไร ให้เข้าใจ Climate Change” “ความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นอย่างไรเมื่อสภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง” และ “ชายฝั่งพัง เพราะ Climate Change จริงหรือ..?” รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง ณ พิพิธภัณฑ์ธรณี และอุทยานธรณี (Geoscience Museum and Geological Park) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และชายฝั่งทะเล ชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปรากา ก่อนที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อนำเสนอโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ให้คำแนะนำ


โดยกิจกรรมจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างการเรียนออนไลน์และกิจกรรมภาคสนาม ภายใต้แนวคิดของค่ายฯ “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม – เรียนรู้สู่การปฏิบัติ” เยาวชนผู้ร่วมกิจกรรมทั้ง 50 คนได้ร่วมกิจกรรมตั้งแต่การปูพื้นฐาน เรียนรู้ปัญหา เข้าใจสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2565 ก่อนเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ภาคสนามระหว่างวันที่ 18-25 ตุลาคม 2565


พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2566

29 ธันวาคม 2565 เวลา 07.00 น. อ.ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ ในฐานะผู้แทนคณบดี และ ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
พร้อมด้วยบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 30 รูป เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2566 ณ บริเวณด้านหน้าสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


ทำบุญเดือนเกิด ครั้งที่ 12 ประจำปี 2565

23 ธันวาคม 2565 เวลา 08.00 น. อ.ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ ในฐานะผู้แทนคณบดี และ ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ พร้อมด้วยบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานทำบุญเดือนเกิด ครั้งที่ 12 ประจำปี 2565 จัดขึ้นโดยวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการทำบุญถวายสังฆทานพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป พร้อมร่วมรับฟังการบรรยายธรรมะ และรับพรจากคณะสงฆ์ ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


Meet the Dean: Moving forward together

23 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จัดกิจกรรม ประชาคม EN พบคณบดี “Meet the Dean: Moving forward together” ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ (4224) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล โดย รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางตามยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของคณะ ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดระบบการดำเนินงานของหน่วยงานภายในคณะ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยเปิดโอกาสให้คณะผู้บริหาร บุคลากรทั้งสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบริหารงานของคณะ


อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการออกข้อสอบ การวัดและประเมินผล”

22 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 - 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย งานบริการการศึกษา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการออกข้อสอบ การวัดและประเมินผล” โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับทีมวิทยากรบรรยายประกอบด้วย นายแพทย์ วุฒิภัทร เอี่ยมมีชัย, ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ และ ดร.ปาริชาต อภิเดชากุล จากศูนย์ความป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้แก่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักการพื้นฐานของการวัดและประเมินผลทางการศึกษา การสร้างข้อสอบ และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ “Outcome-Based Learning” ผ่านการออกแบบกระบวนการต่างๆ อาทิ กลยุทธ์การเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ “จัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้ โดยมีบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของคณะ จำนวน 26 คน เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก  Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga, ประเทศอินโดนีเซีย

 13 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก  Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga, ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วย Dr. Woro Hastuti Satyantini, Ir., M.Si, Dr. Muhamad Amin และ Ms. Nina Nurmalia Dewi ในโอกาสเข้าหารือในเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วม การแต่งตั้งศาสตราจารย์วุฒิคุณ การจัดบรรยายพิเศษ กิจกรรมแลกเปลี่ยนบุคลากร โครงการฝึกงานและโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา รวมถึงการเรียนเชิญบุคลากรสายวิชาการของคณะเพื่อเป็นองค์ปาฐกในการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีของ Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga ประเทศอินโดนีเซีย โดยการประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 4 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.