• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 มีนาคม 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1118681)

ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย ผนึกกำลัง ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ผ่านโครงการ ‘วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ : เรารักษ์น้ำ’ มุ่งส่งเสริม ‘เยาวชน’ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต การปลูกฝั่งทัศนคติในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดการสร้างการตระหนักรู้เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเยาวชน ที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพราะเยาวชนมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลทรัพยากรต่อไปในอนาคต

            ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทที่มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ “การเติบโตอย่างยั่งยืน (Growing..for..Good)” ด้วยความตระหนักว่า “น้ำ” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่า ทุกชีวิตล้วนแล้วแต่อาศัย “น้ำ” เพื่อการดำรงชีวิต และ “น้ำ” จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อทุกคนและต่อโลกใบนี้ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จึงดำเนินโครงการหลากหลายเกี่ยวกับ “น้ำ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมามีการเดินหน้า โครงการ ‘มิซุอิกุ’ ซึ่งริเริ่มในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2547 ก่อนจะขยายไปในอีกกว่า 8 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในภาษาญี่ปุ่น ‘มิซุ’ หมายถึง ‘น้ำ’ และ ‘อิกุ’ หมายถึง ‘การให้ความรู้’ โครงการมุ่งส่งเสริมให้คนในประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอนให้ทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเองที่สามารถมีส่วนร่วมอนุรักษ์น้ำได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอและส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป

ล่าสุด บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ “วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ : เรารักษ์น้ำ” ประจำปี 2567 เป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายผลโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของทั้งสองบริษัทฯ มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน ผ่านการจัดกิจกรรม “ค่ายมิซุอิกุ ผู้พิทักษ์รักษ์น้ำ” และ การประกวด “โรงเรียนต้นแบบรักษ์ มิซุอิกุ” ประจำปี 2567 ตลอดจนกิจกรรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ให้แก่คนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัทฯ ได้มีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันเสริมสร้างองค์ความรู้และสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในมิติสิ่งแวดล้อมและมิติทางสังคม ตอกย้ำค่านิยมองค์กรของเรา คือ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืน’ (Growing for Good) และ‘การตอบแทนกลับคืนสู่สังคม’ (Giving Back to Society) โครงการ “วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ: เรารักษ์น้ำ” ประจำปี 2567 ได้รับเกียรติจากภาคีภาครัฐร่วมเป็นพันธมิตร ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังผนึกกำลังกับ ‘ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา’ (Environmental Education Centre) องค์กรที่มุ่งหวังในการส่งเสริมให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกันขับเคลื่อนพันธกิจในการจุดประกายให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.posttoday.com/smart-city/706873

ถ้าต้องลดอะไรบางอย่างลง 50% คุณคิดว่าเป็นตัวเลขที่เยอะแค่ไหน แต่นี่คือเป้าหมายในการ “ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำ Ajinomoto ให้น้อยลง 50% ภายในปี ค.ศ.2030 หรือปี พ.ศ.2573 ภายใต้วิสัยทัศน์การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่าน 5 แนวทางหลัก ประกอบด้วย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 80% การลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ (รีไซเคิลพลาสติกได้ 100%) การลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารลง 50% ภายในปี 2025 และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน 100%

Ajinomoto มองว่าปัญหาด้านอาหารและสุขภาพมีความหลากหลายมากขึ้น จึงมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนทั่วโลก โดยเฉพาะต่อชุมชนใน 130 ประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจ

เนื่องจากธุรกิจของ Ajinomoto ต้องอาศัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งวัตถุดิบและพลังงาน จึงเห็นความสำคัญที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงห่วงโซ่คุณค่า เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขยะพลาสติก ฯลฯ โดยร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น เพื่อโลกที่ดีกว่า

ด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดคุณค่าสูงสุด ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความ “อยู่ดีมีสุข” อย่างยั่งยืน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 มีนาคม 2567

ที่มา: https://mthai.com/news/pr/359922.html

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัว “โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” กฟผ. ได้ผลักดันให้เกิดมาตรฐานระดับประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงด้วยการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงาน ในปี 2538 ได้ดำเนินการรับรองฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงานผลิตภัณฑ์แรกและได้ขยายขอบข่ายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และในปี 2567 กฟผ. ได้พัฒนารูปแบบฉลากฯ ใหม่ และปรับระดับประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเบอร์ 5 ห้าดาว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593

นอกจากจะมีการเปิดตัวพรีเซนเตอร์แล้ว ยังดึงเอา Music Marketing เข้ามาเป็นส่วนในการรุกตลาดด้วย โดย กฟผ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตลาดผ่านเพลง ที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาจากเพลงที่เป็นที่นิยม ติดหูคนฟัง มาใช้ในการสื่อสารสามารถสร้างการจดจำ และช่วยสร้างภาพจำให้กับแคมเปญได้เป็นอย่างดีในระยะเวลาสั้น ซึ่ง กฟผ. ทำการคัดเลือกเพลงดังอยู่หลายเพลง จนได้เพลงคุ้นหู “ฤดูร้อน” ของวงพาราด็อกซ์ (Paradox) ซึ่งตรงกับช่วงหน้าร้อนที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง จึงมองว่าการนำเพลงมาดัดแปลงเนื้อร้อง ให้เป็น “ฤดูเซฟ” สร้างการจดจำได้เป็นอย่างดี พร้อมทำมิวสิควิดีโอ หลังจากที่ปล่อยซิงเกิลนี้ออกไป ก็ได้รับผลตอบรับที่ดี มียอดรับชมทั้งมิวสิค วิดีโอ และหนังโฆษณา รวมแล้วกว่า 10,000,000 ครั้ง และเป็นไวรัลในโซเชียลได้เป็นอย่างมาก ทำให้ยอดผู้ติดตามโซเชียลมีเดียของ กฟผ. เพิ่มขึ้นและถูกแชร์ออกไปเป็นวงกว้าง

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กล่าวว่า พรีเซนเตอร์คนใหม่ล่าสุด คือ แน็ก ชาลี ไตรรัตน์ เพราะว่ามีคาแรคเตอร์ชัดเจน คนไทยคุ้นเคย และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกันกับศิลปินนักร้องวงพาราด็อกซ์ ที่มีเพลงติดหูอยู่หลายเพลง ซึ่งทั้งสองศิลปินดังกล่าว รู้จักทุกวัย จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสื่อสารเรื่องฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์แบบใหม่นี้ ให้เข้าถึงคนไทยทั้งประเทศได้ ผ่านแคมเปญการตลาดในรูปแบบ Music Marketing ที่กล่าวมาข้างต้น หลังจากนี้ เราวางแผนประชาสัมพันธ์ในสื่อทุกช่องทาง ทั้งออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป ติ๊กต๊อก และช่องทางออฟไลน์ เช่น สื่อโทรทัศน์ และสื่อนอกบ้าน ป้ายโฆษณา ควบคู่ไปกับแคมเปญและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เข้าถึง ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เพราะเรามองว่า เรื่องการประหยัดพลังงานเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญร่วมกัน สำหรับแคมเปญปรับโฉมใหม่


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 มีนาคม 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1118121)

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ของ สหประชาชาติ ซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อ การบรรลุเป้าหมายให้ได้ในปี 2030 ไม่ใช่แค่หน้าที่ของภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ขณะที่ องค์กรจะยั่งยืนได้ ต้องเข้าใจคำว่า SDGs เมื่อพูดถึงความยั่งยืน มิติแรกที่หลายคนมอง อาจเป็นเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” แต่ความจริง “ความยั่งยืน” มีหลายมิติ เห็นได้จาก “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals : SDGs) ของ สหประชาชาติ ที่จะบรรลุความมุ่งหมายให้ได้ภายในปี 2030 มีทั้งหมดกว่า 17 เป้าหมาย โดยเน้นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG localization) เพื่อนำวาระการพัฒนาระดับโลก สู่ชุมชนท้องถิ่นให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล การเดินหน้าด้านความยั่งยืน ไม่ใช่แค่หน้าที่ของทางภาครัฐผู้กำหนดนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึง สื่อมวลชน ที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียง ในการสร้างความตระหนักรู้เฝ้าระวัง และสร้างพลัง ให้เกิดขึ้นในสังคม ที่ผ่านมา สหประชาชาติ มีการก่อตั้ง UN Global Compact เครือข่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การรวมตัวภาคเอกชนเพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหา คำนึงถึงสิ่งรอบตัว ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเมื่อธันวาคม ปี 2561 สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand หรือ UNGCNT) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อธันวาคม 2561 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 15 บริษัท นับเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ลำดับที่ 70 เข้าใจ 17 เป้าหมาย SDGs สำหรับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) 17 ข้อ  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1 ขจัดความยากจน 2 ขจัดความหิวโหย 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4 การศึกษาที่เท่าเทียม 5 ความเท่าเทียมทางเพศ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 10 ลดความเหลื่อมล้ำ11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

            ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร เลขาธิการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทย กล่าวในงานเวิร์กช้อป เสริมศักยภาพสื่อมวลชน การสื่อสารประเด็นความยั่งยืน โดยระบุว่า สมาคมฯ เป็นเครือข่ายท้องถิ่นของเครือข่ายระดับโลก โดยมุ่งเน้น 4 หมวด ได้แก่ การปกป้องสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน ต่อต้านการทุจริต “4 หมวด UNGCNT สนับสนุนในการทำธุรกิจ ให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพราะ “ความยั่งยืน” คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ตั้งแต่ การจ้างงานอย่างเป็นธรรม ความเสมอภาคสตรีและความหลากหลายทางเพศ การเลือกปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เสมอภาคทางเพศ ไม่รุกล้ำป่า การลดคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเกิน 2 องศา ตั้งแต่ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และการตั้งเป้าความยั่งยืน”


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.posttoday.com/smart-city/706731

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับคณะสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชีย และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนด้านพลังงานสะอาด ซึ่งเข้าพบเพื่อกระชับความสัมพันธ์ พร้อมหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกันในด้านของสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด

กรุงเทพมหานครกับประเทศจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งประเทศจีนยังเป็นตัวอย่างในที่ดีในเรื่องของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ซึ่งจะได้หารือเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันต่อไป

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สรุปเป้าหมายของกรุงเทพมหานครในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ซึ่งอาจจะเป็นโครงการที่สามารถประสานความร่วมมือระหว่างกันได้ในอนาคต


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  16 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/2770391

นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะโฆษก ทส. แถลงข่าวการจัดกิจกรรมเนื่องในวันป่าไม้สากล ประจำปี พ.ศ. 2567 ว่า กรมป่าไม้ จะจัดงาน “วันป่าไม้ สากล ประจำปี 2567” ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ที่เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทส. เป็นประธานเปิดงาน โดยสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติกำหนดให้มีการรณรงค์ภายใต้ประเด็นหลัก “Forests and Innovation” หรือ “ป่าไม้และนวัตกรรม” และมีประเด็นเสริม “New solutions for a better world” หรือ “ทางเลือกใหม่ เพื่อโลกที่ดีขึ้น” เป็นวาระสำคัญ

ด้านนายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวต่อว่า การจัดงานวันป่าไม้สากล จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของป่าทุกประเภท รวมทั้งต้นไม้ที่อยู่นอกป่า เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตที่ประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าและต้นไม้ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เช่น การรณรงค์ปลูกต้นไม้ การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการดำเนินการเพื่อปกป้องและอนุรักษ์ป่าไม้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  15 มีนาคม 2567

ที่มา : MGR Online  (https://mgronline.com/science/detail/9670000022984)

วงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์คาดการณ์ว่า ทุกปีโลกจะมีคอมพิวเตอร์เพิ่มประมาณ 300 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือเพิ่ม 1,000 ล้านเครื่อง นอกจากนั้นก็มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีก เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ที่ต่างก็มีเพิ่มทุกปี ครั้นเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้หมดสภาพ หรือเสีย หรือทำงานบกพร่อง วัสดุทั้งหมดก็จะถูกกำจัดโดยการทิ้งลงถังขยะ เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ขยะอี (e-waste)..ที่นับวันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เช่นในปี 2011 องค์การสภาพแวดล้อมของสหประชาชาติได้รายงานว่า โลกมีขยะอี 35.8 ล้านตัน ปี 2015 ปริมาณขยะอีได้เพิ่มเป็น 46.4 ล้านตัน ถึงปี 2019 โลกมีขยะอี 53.6 ล้านตัน และในปี 2023 ปริมาณขยะอี ได้เพิ่มเป็น 61.3 ล้านตันแล้ว ตัวเลขล่าสุดนี้ แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยประชากรโลกแต่ละคนสร้างขยะอี ได้ในปริมาณ 8 กิโลกรัมสถิติการสำรวจล่าสุดยังแสดงให้เห็นอีกว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ผลิตขยะอีมากที่สุด คือ 7.1 ล้านตัน และจีนมาเป็นอันดับสองที่ 6.0 ล้านตัน ปริมาณขยะอีที่มากเช่นนี้ ชี้นำว่าในทุกวินาที จะมีคนทิ้งเครื่องคอมพ์ 800 เครื่อง ลงถังขยะ ในความเป็นจริงสิ่งที่เราเรียกว่าขยะอีนั้น มีอะไรๆ หลายอย่างที่เป็นโทษมากกว่าขยะปกติทั่วไป ซึ่งมีแต่จะสร้างความสกปรก รกรุงรัง เพราะขยะอีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีชิ้นส่วน ซึ่งทำด้วยแร่ธาตุ และสารประกอบต่างๆ มากมาย ที่เป็นพิษต่อสุขภาพ ถ้าขยะอีนั้นถูกกำจัดโดยวิธีการที่ไม่เหมาะสม สารพิษก็จะหวนกลับมาทำลายสุขภาพของคนและสภาพแวดล้อมของชุมชนในที่สุดเพราะเวลานักวิทยาศาสตร์ใช้อุปกรณ์ X-ray..spectrometer,..gas..chromatography..และ mass spectrometer วิเคราะห์ขยะ ก็มักจะพบแร่พิษหลายชนิด เช่น ตะกั่ว ซึ่งเวลาขยะอีถูกเผา ตะกั่วที่มีอยู่ในชิ้นส่วนของอุปกรณ์จะระเหิดกลายเป็นไอ ให้ผู้คนสูดหายใจเข้าปอด และถ้าร่างกายได้เก็บสะสมฝุ่นตะกั่วในปริมาณมาก ระบบหายใจและระบบขับถ่ายจะทำงานบกพร่อง นอกจากนี้การวิเคราะห์ในบางครั้งก็อาจจะพบ chromium ในสารประกอบ hexavalent chromium (CrVI) ที่สามารถทำให้ระบบหายใจของร่างกายมีอาการระคายเคืองในจมูก คอ ปอด และถ้าร่างกายมี chromium สะสมในปริมาณมาก กระเพาะก็อาจจะเป็นแผล (ulcer) บางคอมพิวเตอร์อาจจะมีธาตุ cadmium..ที่เป็นพิษ เพราะสามารถทำอันตรายปอด ไต และทำให้ร่างกายเป็นโรคกระดูกอ่อน หรือมีธาตุ selenium..ที่ถ้าสูดหายใจเข้าร่างกาย อาจทำให้เป็นโรค Parkinson, Alzheimer และ Multiple sclerosis ที่ทำให้ร่างกายมีอาการสั่นกระตุกอย่างรุนแรง นอกจากนี้ในขยะอีก็อาจจะมี bromine..ที่มักพบในรูปของสารประกอบ decabromodiphenyl..ether (หรือ decaBDE) ที่บริษัทคอมพิวเตอร์มักใช้ในการทำอุปกรณ์ เพราะสารนี้มีคุณสมบัติต่อต้านการลุกไหม้ได้ดี คือ ทำให้ติดไฟได้ยาก และธาตุสุดท้ายที่น่ากลัวก็คือปรอท ซึ่งถ้าร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้ตาและผิวหนังมีอาการระคายเคือง นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลด และหายใจลำบาก เป็นต้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.onep.go.th/wp-admin/post.php?post=91746&action=edit

มหาวิทยา Surrey Global Center for Clean Air Research  พบว่า ปรากฏการณ์ลดอุณหภูมิเมือง สามารถทำได้จริง แม้กระทั่งสวนหย่อมตามบ้านขนาดเล็กก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งงานวิจัยกำลังศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดว่า ต้นไม้ประเภทไหนลดอุณหภูมิได้มาก ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบเช่น ประเภทของร่มเงาของต้นไม้ การระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แนวการปลูกต้นไม้ เป็นต้น

โครงการ Green Bangkok 2030 นอกจากต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อประชากร ให้ได้ถึง 9 ตร.ม./คน ภายในปี 2030 แล้ว ยังมีเป้าหมายการเพิ่มสวนสาธารณะขนาดเล็ก (Pocket Park)ให้เข้าถึงได้ในระยะ 400-800 เมตรอีกด้วย

แม้กทม.จะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่ในยุคสมัยต่างๆ ของผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อนๆต่อเนื่องกันมา ได้มีการแก้ปัญหา เพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลากหลายลักษณะ ทั้งใช้ที่ดินกทม.เอง หรือ เช่าที่ มาทำสวนสาธารณะ  บางที่ได้รับพระราชทานมาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 และยังมีการบริจาคมาจากภาคเอกชน หรือได้รับความร่วมมือจากพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานจากหน่วยงานรัฐต่าง ๆ อีกด้วย

โดยปกติแล้วเมืองใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้ทรัพยากรมากกว่า เป็นสาเหตุในการเร่งภาวะโลกร้อนรอบโลกมากกว่าพื้นที่ชุมชนอื่นๆ พื้นที่สีเขียวจึงจำเป็นที่ต้องอยู่คู่กับเมืองไปด้วย เพราะนอกจากจะทำให้เมืองคลายร้อนให้เมืองเย็นขึ้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึมซับน้ำส่วนเกิน ลดมลพิษทำความสะอาดอากาศ ก็ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน ในเชิงความงดงาม และ คลายเครียดได้ด้วย


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.