• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 มีนาคม 2567

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ (https://www.dailynews.co.th/news/3246778/)

การลดปริมาณขยะ ลดต้นทุนการจัดการขยะ “การคัดแยกนับแต่ต้นทาง” ก่อนทิ้งลงถังขยะนั้นมีความสำคัญ เพราะในแต่ละวันมีขยะเกิดใหม่เกิดขึ้นไม่น้อย ทั้งนี้พาส่อง การจัดการขยะ มหาวิทยาลัยมหิดลการเพิ่มมูลค่าขยะ คัดแยกเพื่อการหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า กระทั่งเศษใบไม้ที่หล่นร่วง

การบริหารจัดการขยะ ลดปริมาณขยะในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา “โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล” เป็นหนึ่งในโครงการที่ดำเนินการมายาวนานกว่า 10 ปีที่สร้างความตระหนักการคัดแยกขยะ สร้างการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยที่ผ่านมาโครงการฯขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนและโรงเรียนโดยรอบมหาวิทยาลัย ทั้งนี้นำเรื่องน่ารู้การคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะ โดย วรพจน์ เฉลิมกลิ่น นักวิชาการเกษตร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความรู้ว่า ปัญหาขยะเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญ การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยจะมีเทศบาลเข้ามาจัดเก็บ แต่ระหว่างการรอเก็บจะมีปัญหาเรื่องกลิ่น สุนัขขุดคุ้ยขยะ ฯลฯ อีกทั้งถ้ามองในองค์ประกอบขยะพบการทิ้งขยะเปียก แก้ว กระป๋อง กระดาษ ฯลฯ ทุกประเภทปะปนรวมกัน หากนำมาแยกจะพบว่ามีขยะที่สามารถนำมารีไซเคิล จัดการให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ จึงรณรงค์ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมกันคัดแยกขยะจากต้นทาง ขยะรีไซเคิลสามารถนำมาขายให้กับธนาคารขยะรีไซเคิล โดยธนาคารฯเป็นตัวกลาง รวบรวมจัดส่งสู่การรีไซเคิล “การคัดแยกขยะจัดเก็บอย่างถูกวิธีนำมาซึ่งความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในด้านสิ่งแวดล้อม หรือความสะอาดของพื้นที่ ทั้งยังปลูกสร้างพื้นฐานการคัดแยกขยะส่งต่อรุ่นต่อรุ่น รวมถึงช่วยการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสิ่งไหนที่นำกลับไปรีไซเคิล นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ก็จะไปถึงจุดหมาย ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม”

การคัดแยกขยะ ขยะเปลี่ยนยังเป็นเงิน อย่างเช่น ประเภทอะลูมิเนียมหนึ่งในขยะที่มีราคา ขณะที่ กลุ่มกระดาษ กระดาษขาว-ดำ กระดาษสมุด หนังสือเล่ม และลังกระดาษก็มีราคา รวมถึงกลุ่มขวดพลาสติก ฯลฯ การคัดแยกประเภทขยะนับแต่ต้นทาง นอกจากทำให้เห็นถึงมูลค่า ยังช่วยการจัดการขยะปลายทางได้ดียิ่งขึ้น โดยแนวคิดการคัดแยก การจัดการขยะจากที่กล่าวขับเคลื่อนส่งต่อความรู้ต่อไปยังชุมชน และอีกหลายโรงเรียนโดยรอบมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักกับขยะที่สามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนนักวิชาการเกษตร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณวรพจน์ อธิบายอีกว่า การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันและให้ความสำคัญ ปัจจุบันมีถังขยะแบ่งประเภท หรือการจัดการขยะในบ้าน สามารถจัดเก็บเป็นระบบ กระป๋อง ขวดพลาสติก หรือกระดาษ ฯลฯ แยกเป็นประเภท ซึ่งการคัดแยกขยะส่งผลที่ดีต่อไปยังปลายทาง นอกจากนี้ ขยะอาหาร เศษใบไม้ เศษพืช เรายังนำมาทำ ปุ๋ยหมัก โดยเฉพาะเศษใบไม้ที่มีจำนวนมากในมหาวิทยาลัยนำกลับมาใช้ประโยชน์ ลดการเผาทำลายเกิดมลพิษ เกิดเปลวไฟ ทั้งลดต้นทุนการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม โดยเศษใบไม้โดยรอบมหาวิทยาลัยที่ผ่านมาผลิตปุ๋ยช่วยการจัดการปัญหาใบไม้ ทั้งสร้างรายได้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจำหน่ายและนำกลับคืนกลับมาบำรุงดูแลต้นไม้ ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งนี้เริ่มขึ้นจากการคัดแยกขยะจากต้นทาง แยกประเภทก่อนทิ้งเพื่อเกิดการหมุนเวียน นำกลับมาใช้ประโยชน์ต่ออย่างคุ้มค่า


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  11 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116955

หญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์น้ำ ตลอดจนเป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิดรวมถึงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และยังมีส่วนช่วยในการกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำ

ปัจจุบัน ‘หญ้าทะเล’ กลับพบว่า เสื่อมโทรม ทั้งจากธรรมชาติ และจากกิจกรรมของมนุษย์ ตัวอย่างในพื้นที่เกาะลิบง หญ้าทะเลหายไปมากกว่า 50% และส่งผลต่อสัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น หอยชักตีน หอยตลับ ปลิงทะเล รวมถึงปลาหน้าดิน

นอกจากนี้ หญ้าทะเล ยังเป็นอาหารของสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างเต่า และ พะยูน ใน 1 วัน พะยูนกินหญ้าทะเล 5-10% ของน้ำหนักตัว และพะยูนตัวเต็มวัย สามารถหนักได้ถึง 250-420 กิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม ชุมชนส่วนใหญ่ซึ่งมักตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล แหล่งหญ้าทะเลจึงเป็นระบบนิเวศแรกๆที่รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนแผ่นดิน ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติและจากมนุษย์ เช่น การพัฒนาด้านเกษตรกรรมต่างๆ ทั้งเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำล้วนมีผลกระทบต่อพื้นที่หญ้าทะเลทั้งสิ้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  10 มีนาคม 2567

ที่มา: https://mgronline.com/south/detail/9670000019925

ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดตรัง ร่วมกับศิลปินระดับแนวหน้าจาก 22 ประเทศ ซึ่งศิลปินชาวจังหวัดตรัง และสมาคมศิลปินนานาชาติภาคใต้ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากขยะ และขยะทะเล Art trash international เพื่อรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งรีไซเคิล หรือนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า ซึ่งเหล่าศิลปินได้นำขยะจากทะเล เช่น เศษอวน เศษพลาสติก ซากไม้ ขวดแก้ว เศษโลหะ มาประดิษฐ์เป็นชิ้นงานศิลปะที่สื่อถึงทะเลตรัง เช่น เต่าทะเล พะยูน ปะการัง

นายจักษณ์ญพงศ์ อ๋องเจริญกฤษ ผู้ประกอบการโรงแรมดูก็องวิลเลจ มองว่า เนื่องจากงานศิลปะกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมสามารถทำไปควบคู่กันได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดการจัดงาน Art trash international ขึ้นในครั้งนี้ เพราะขยะสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่สวยงามได้ และจริง ๆ แล้วขยะทะเลไม่ได้หมายถึงขยะที่อยู่บนชายหาด หรือเกาะในบ้านเราอย่างเดียว แต่หมายถึงขยะในมหาสมุทรที่กระแสน้ำพัดเข้ามาจากทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ทะเล เช่น สัตว์ทะเลกินขยะ หรือได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย

นอกจากนี้ กลุ่มศิลปินดังกล่าวยังได้ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในพื้นที่ ด้วยการเก็บขยะบริเวณชายหาดปากเมง ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม พร้อมทั้งช่วยออกแบบลายผ้าบาติกให้กลุ่มอาชีพของบ้านในตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง และตำบลไม้ฝาด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา โดยผลงานของศิลปินทั้งหมดจะจัดแสดงที่ภายในโรงแรมดูก็องวิลเลจ ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ตลอด


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  9 มีนาคม 2567

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  (https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1517567)

โลกเดือด สัญญาณอันตรายเมื่อไทยอุณหภูมิพุ่งสูง 50 องศา เป็นอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อาจเป็นจุดจบของมวลมนุษยชาติ ในขณะที่ภาคธุรกิจ ต่อไปจะมีเกณฑ์วัดBio-Credit..ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังสร้างผลกระทบทั่วโลก เพราะอุณหภูมิของโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีรายงานว่าบางจังหวัดอาจร้อนทะลุ 50 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอยู่ในระยะอันตราย

           โลกเดือด จุดจบมนุษยชาติ?..ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวบนเวทีสัมมนา งานอรุณ สรเทศน์ รำลึก 2567 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความท้าทายในการเดินหน้าอนาคตประเทศ โดยเฉพาะอุณหภูมิของโลกที่นับว่ายิ่งสูงขึ้น โดย ดร.พิรุณกล่าวว่า หายนะมีหลายรูปแบบ ที่เพิ่งผ่านพ้นไปคือ โควิด-19 และกำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังก้าวเข้าสู่“Biodiversity..Collapse”..หรือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ถึงตรงนี้นั่นคือจุดจบของมวลมนุษยชาติ..“ผลกระทบที่เราเห็นภาพชัดเจนคือ หมีขั้นโลกเริ่มอยู่ยาก เพราะน้ำแข็งขั้วโลกละลายทำให้เขาไม่สามารถหาอาหารได้ในเขตที่อาศัยอยู่ หรือดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา เป็นความสวยงามที่แฝงหายนะ เพราะการที่ดอกไม้บานในขั้วโลกที่มีแต่ธารน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม รวมถึงประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกอาจจะสูงขึ้นไปถึง 50 องศาเซลเซียส แน่นอนว่ากระทบต่อการจัดการชีวิตประจำวันของทุกคนแน่นอน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ อาหารการกิน เพราะอย่างทะเล นักวิชาการ กรมทะเลและชายฝั่งก็เริ่มออกมาเตือนว่า เราเอาเผชิญกับปะการังฟอกขาวในน้ำทะเลอีกครั้ง”

ดร.พิรุณกล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เราก็ต้องร่วมกันแก้ปัญหาก่อน ด้วยวิธีใดก็ตาม เพื่อหวังผลว่าอีก 15-20 ปีข้างหน้า ผลกระทบจะบรรเทาลง และอยู่ในระดับที่มั่นคง ยั่งยืน..“วันนี้เลขาธิการสหประชาชาติบอกว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ยุคของ Global warming แต่มันคือ Global Boiling หรือยุคโลกเดือด การที่เรามาสู่จุดนี้ เพราะโลกทั้งโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมไปแล้วกว่า 2500 จิกะตัน (Gt)..หรือคิดเป็น 2500 ล้านล้านตัน..ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมหาศาลคือปัญหาสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมดาวอสมีการพูดกันว่า ถ้ามันรุนแรงขึ้น อาจจะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2050 หรือ 27 ปีต่อจากนี้..โดยกติกาโลกก็จะเปลี่ยน ธุรกิจต้องมองเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงซัพพลายเชนจ์ต้องเป็นสีเขียว ตลาดคาร์บอนจะมีบทบาทในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ไม่ใช่โซลูชั่นหลัก มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น เพื่อให้เราเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การรายงานการปล่อยก๊าซจากนี้ต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น” ดร.พิรุณกล่าวอีกว่า เราต้องเปลี่ยนผ่านเรื่องพลังงานให้ได้ ไม่เช่นนั้นไทยไม่มีทางเป็นกลางคาร์บอน หรือเป็น Net Zero ได้ รวมถึง Carbon Tax จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต แรงกดดันจากต่างประเทศก็จะมากขึ้นด้วย เพราะวันนี้เริ่มเห็นว่า CBAM มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) ต้องเสียเงินให้เขา ถ้าปริมาณการปล่อยก๊าซของเรามากกว่าเขา แว่วๆ ว่าจะมีอเมริกา แคนาดา อีกแห่งประกาศ และอียูจะเพิ่มผลิตภัณฑ์ ตอนนี้กำหนดแค่ 5 ต่อไปอาจจะมากกว่าเดิม

TOP 5 ประเทศปล่อยก๊าซสูงสุดในโลก ดร.พิรุณเผยอีกว่า อย่างไรก็ตามเราจำเป็นเป้าหมายการปรับตัว ประเทศพัฒนาแล้วควรจะให้ความสำคัญมากกว่านี้ เพราะว่าอุณหภูมิสูงขึ้นทุกวัน ประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบ มีความเสียหายมากมาย แต่คนที่รวยมาก่อน หรือพัฒนาแล้ว ก๊าซเรือนกระจกที่สะสมทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด โดย Top..5 ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด ดังนี้

อันดับ 1 จีน ปล่อย 25% ประมาณ 12,705 ล้านตัน      อันดับ 2 อเมริกา ปล่อย 12% ประมาณ 6,000 ล้านตัน

อันดับ 3 อินเดีย ปล่อย 7.02% ประมาณ 3395 ล้านตัน  อันดับ 4 อินโดนีเซีย ปล่อย 3.93% ประมาณ 1,913 ล้านตัน

อันดับ 5 รัสเซีย ปล่อย 3.93% ประมาณ 1,890 ล้านตัน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 19 ประมาณ 0.93% ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก NGO ยังไม่ใช่ข้อมูลทางการที่เปิดเผยโดยสหประชาชาติ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  8 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116196

“ขยะพลาสติก” เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังกังวล เพราะมีจำนวนมาก ใกล้จะล้นโลกเต็มที แถมพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายนาน และแตกตัวกลายเป็นพลาสติกขนาดเล็ก หรือ “ไมโครพลาสติก” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้โดยไม่รู้ตัว ทำให้หลายประเทศต่างเร่งหาวิธีแก้ปัญหา และลดปริมาณขยะให้ได้เร็วที่สุด

ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบว่ามีเอนไซม์ และแมลงกินพลาสติกบางชนิด เช่น เห็ดราย่อยพลาสติกบริเวณริมฝั่งบึงน้ำกร่อย หรือดักแด้ของหนอนผีเสื้อกลางคืนที่สามารถอาศัยอยู่บนโพลีเอทิลีน (พลาสติก PE) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตที่กินพลาสติกเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาวิธีขยายพันธุ์พวกมันให้ได้จำนวนมาก

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของสิงคโปร์ (NTU Singapore) ได้พัฒนา “ลำไส้หนอนเทียม” (artificial worm gut) ที่สามารถช่วยย่อยสลายพลาสติกได้ โดยไม่จำเป็นต้องการเพาะพันธุ์หนอนจำนวนมาก


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  7 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thaipbs.or.th/news/content/337761

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกันประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2567 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้การนำเสนอแหล่งสงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลาเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative list) ของศูนย์มรดกโลก และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ และหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ทันต่อรอบการนำเสนอคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 21-31 ก.ค.นี้ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวว่า การนำเสนอแหล่งสงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลามี 4 พื้นที่ประกอบเข้าด้วยกัน คือ เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง เมืองโบราณสทิงพระ เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดง และแหลมสน และสุดท้าย เมืองเก่าสงขลาในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร และอ.เมือง จะดำเนินการโดยมูลนิธิสงขลา สู่มรดกโลกที่เป็นการรวมตัวของประชาคมภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา เพื่อนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในพื้นที่ ที่เป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอารยธรรมอื่น ๆ ตามเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบแนวชายฝั่งกับนานาชาติตลอดระยะเวลานับพันปี การนำเสนอแหล่งสงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  6 มีนาคม 2567

http://ที่มา : Atime.live (https://atime.live/greenwave/greenheart/7179)

พลาสติก เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และเคยหยิบจับกันอยู่แทบทุกวัน ทั้งถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ หลอด หรือแม้แต่กล่องข้าว ก็ล้วนแล้วแต่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น พลาสติกเป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้กว้าง และหลากหลาย สามารถทำให้อ่อนนุ่ม เหนียว ยืดหยุ่น หรือจะทำให้แข็งแรง คงทน ถึงขนาดเป็นชิ้นส่วนของยานอวกาศได้เลยทีเดียว

พลาสติก คืออะไร..พลาสติก จัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการ พอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization)..โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก เช่น เอธิลีน (Ethylene) , พรอพพิลีน (Propylene)..เป็นต้น เมื่อพลาสติกโดนความร้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ “เทอร์โมเซตติ้ง(Thermosetting)” พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็ง เมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ คือ “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ปัญหาการจำกัดขยะพลาสติกในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก พลาสติกเป็นวัสดุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 500 – 650 ปี หรือพูดกันง่ายๆว่า ถุงพลาสติกที่เราใช้ในวันนี้ มีอายุยืนยาวกว่าตัวเราเองจนถึงรุ่นหลานของเราเลยทีเดียว อีกทั้งหากจะนำขยะพลาติกไปรีไซเคิล เป็นปุ๋ยชีวภาพ  หรือแปลเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ก็จำเป็นต้องใช้ทั้งพลังงานแถมผลที่ได้มานั้น หากทำไม่ถูกวิธี ขยะพลาสติก ก็จะแปลเปลี่ยนเป็น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดินอีกด้วย ปัญหาของขยะพลาสติกไม่ใช่แค่การย่อยสลายที่ใช้เวลานาน หรือกำจัดยาก แต่ยังมีเรื่องของปริมาณที่เยอะขึ้นทุกวัน ทุกที่ และทุกเวลา หากเราลองคิดกันง่ายๆ ว่าใน 1 วัน เราทิ้ง 1 ชิ้น ต่อ 1 คน ประเทศไทยเรานั้นก็จะเกิด ขยะวันละ 66.9 ล้านชิ้นต่อวันเลยทีเดียว

ประเทศไทยเรานั้นมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยปีละ  2 ล้านตัน แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์ได้แค่เพียง  0.5 ล้านตันต่อปี ขยะในส่วนที่เหลือนั้น มักเป็นขยะที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เช่น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นผลเสียที่จะกลายเป็นมลพิษต่อโลกไปนี้ต่อไป แล้วเราจะมีทางไหนไหมนะ? ที่จะย่อยสลายพลาสติกได้เป็นอย่างดีไม่เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศ มารู้จักกับ “หนอนยักษ์” ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ หนอนยักษ์คืออะไร ? โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หนอนนกยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (superworm)..สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene..เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้หนอนนกยักษ์  มีการแพร่กระจายทั่วทุกแห่งในอเมริกากลางในบางพื้นที่ ของอเมริกาใต้ และพบมากทางตะวันตกของหมู่เกาะอินดีส (Indies)..และแม็คซิโก (Mexico)..โดยมี มูลค้างคาวและเศษซากพืชซากสัตว์ในธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือมีการอยู่รวมกันใต้เปลือก ของต้นไม้ที่ตายแล้วและเมื่อโตเต็มไว จะกลายเป็นด้วงปีกแข็งสีด เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้า หนอนนกยักษ์ นี้กันอยู่แทบตลอดเวลา เพราะมันมักจะกลายเป็น อาหารของ นก กิ่งก่า และสัตว์ฟันแทะ ในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ มักนิยมนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะมีโปรตีนที่สูง และขนาดตัวที่พอเหมาะ ย่อยขยะได้อย่างไร ? จากการทดลอง และวิจัยพบว่าเจ้าหนอนนกยักษ์นี้ สามารถกัดกินและย่อยสลาย พอลิสไตรีน (polystyrene) และสไตรีน (styrene)..ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของพลาสติกที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต ถุงพลาสติก หลอด โฟม และอีกมากมาย อีกทั้งยังค้นพบเอนไซม์หลายตัวในลำไส้ของหนอนเหล่านี้ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายพลาสติก นอกจากนั้นไม่ใช่แค่การย่อยสลายเพียงอย่างเดียว เจ้าหนอนนกยักษ์นี้ยังสามารถแปรเปลี่ยนพลาสติกเป็นพลังงานที่เลี้ยงชีพตนได้ แต่เจ้าหนอนที่กินพลาสติกเป็นประจำนั้นก็ไม่ได้มีสุขภาพที่ดีซักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับหนอนที่กินอาหารที่เหมาะสมอย่าง รำข้าว


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  5 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3228409/

ธนาคารกรุงเทพได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการ ‘Bualuang Save the Earth : รักษ์ท่าจีน’ เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน ถือเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายสำคัญที่จะไหลลงสู่ทะเล และพบปัญหาขยะที่มีมากกว่า 14 ล้านชิ้น หรือประมาณ 148 ตันต่อปี ต้องเร่งกำจัดขยะเหล่านี้ออกไปโดยเร็ว จึงทำให้ธนาคารกรุงเทพ ได้จับมือร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายชุมชน จ.สมุทรสาคร ร่วมติดตั้งทุ่นดักขยะ โดยนำร่องในพื้นที่ ‘คลองหลวงสหกรณ์ และคลองพิทยาลงกรณ์’ตำบลโคกขาม เพื่อลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย โดยตั้งเป้าหมายแก้ปัญหาให้ถึงต้นตอสร้างรากฐานความยั่งยืนในทุกมิติของสังคมไทย

เครื่องมือดักขยะที่ติดตั้งในครั้งนี้ จะประกอบด้วย 3 ประเภทเครื่องมือ ได้แก่ ทุ่นดักขยะ ผลิตจากพลาสติก HDPE กระชังไม้ไผ่ดักขยะ และเครื่องมือดักขยะแบบปักหลัก ซึ่งเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทเหมาะสมกับสภาพกระแสน้ำ สามารถรองรับกระแสน้ำขึ้นน้ำลงได้ จะเป็นตัวช่วยดักขยะที่ไหลมาตามน้ำไม่ให้ไหลต่อลงสู่แม่น้ำท่าจีนและทะเลอ่าวไทย ขณะเดียวกัน ได้ทำการติดตั้ง “น้องจุด” หรือ ฉลามวาฬ เป็นที่พักขยะแบบถาวร โดยเฉพาะประเภทขวดพลาสติกทั้งจากการดักจับบนผิวน้ำและเกิดขึ้นบนบก โดยจะวางไว้ 2 จุดในบริเวณลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม เป็นพื้นที่การจัดกิจกรรมและตลาดนัดเป็นประจำ จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลเป็นประจำ ตักขยะเพื่อนำไปคัดแยกและรีไซเคิล ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้แล้ว หรือขยะกำพร้า จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงทดแทนให้เกิดประโยชน์ต่อไป และได้ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่าที่จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เมื่อชุมชนคัดแยกขยะออกมาได้ปริมาณที่มากขึ้น ธนาคารจะก่อตั้งโครงการธนาคารขยะในชุมชนต้นแบบ ให้บริษัทรับซื้อเข้ามาซื้อขายขยะในพื้นที่ เพื่อให้จัดการขยะได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.